บทที่ 2

จักรวาลมีแบบที่มหัศจรรย์

    สมมุติว่า ท่านไปพักแรมที่ภูกระดึงตอนเช้าวันรุ่งขึ้นท่านตื่นขึ้นพบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุคอยู่ในเต็นท์ของท่าน  ท่านคิดว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมาจากไหนกันแน่?  ท่านคิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ตกมาจากต้นไม้หรือ?  หรือเป็นอะไหล่รถยนต์เก่าสักคันหนึ่งที่อาศัยเวลานาน ๆ เป็นล้าน ๆ ปี จึงวิวัฒนาการกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นหรือ?  เป็นไปไม่ได้  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลคโทรนิคที่ละเอียดประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างมีระบบ  เพราะฉะนั้นท่านจึงเข้าใจว่า  คอมพิวเตอร์โน้ตบุคเครื่องนี้ได้ถูกออกแบบ  หรือ Design  หรือถูกสร้างขึ้นโดยคนบางคน  จักรวาลของเราเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Milky_Way_Galaxy.jpg
    จักรวาลของเราใหญ่โตมโหฬารมีรัศมีประมาณ 20 พันล้านปีแสง  (หมายความว่า  ถ้าท่านสามารถเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง 186,000 ไมล์ต่อวินาทีจากขอบจักรวาลหนึ่งไปขอบจักรวาลอีกฟากหนึ่ง)  ในจักรวาลมีกาแลกซี่ประมาณหนึ่งพันล้านกาแลกซี่  และมีดวงดาวประมาณ 25 sextillion ดวง (เท่ากับ 25 ตามด้วยเลขศูนย์ 21 ตัว)  ขนาดของจักรวาลใหญ่โตมโหฬารน่าทึ่งมาก  แต่การออกแบบก็ยิ่งน่าทึ่งมากกว่านั้นอีก  อุณหภูมิภายในของดวงอาทิตย์ประมาณ 20 ล้านองศาเซลเซียส

    โลกของเราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 93 ล้านไมล์พอดี  โลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์และรังสีเพื่อทำให้มีชีวิตอยู่รอด  ถ้าโลกอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าที่เป็นอยู่เพิ่มอีก 10% โลกจะรับความร้อนและรังสีจากดวงอาทิตย์มากเกินไป  หรือถ้าโลกอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลออกไปจากดวงอาทิตย์อีก 10% โลกจะเย็นมากจนเป็นน้ำแข็ง  สภาวะดังกล่าวทั้งสองประการจะไม่สามารถทำให้มนุษย์ สัตว์ และพืชมีชีวิตอยู่บนโลกได้  แสดงว่าจะต้องมี "ผู้ออกแบบ"  ที่รู้อย่างแม่นยำว่าโลกของเราควรจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์พอดิบพอดี

    ท่านที่กำลังอ่านโปรดหยุดคิดเรื่องนี้  ขณะที่ท่านกำลังอ่านหนังสือนี้  โลกของเรากำลังโคจรหมุนรอบแกนของมันเอง 1,000 ไมล์ต่อชั่วโมงที่เส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบดวงอาทิตย์ 70,000 ไมล์ต่อชั่วโมง  ขณะที่ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลกำลังโคจรไปในห้องจักรวาลด้วยความเร็ว 600,000 ไมล์ต่อชั่วโมง  ขณะที่ดาวเคราะห์ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์พร้อมกันในเวลาที่ต่างกันก็โคจรไปในห้องจักรวาลน่าสนใจมาก  ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มันจะเคลื่อนตัวห่างจากแนวเส้นตรงเพียง 1/9 ส่วนของนิ้วต่อทุก ๆ 18 ไมล์  สมมุติว่าโลกจะเคลื่อนตัวห่าง 1/8 ส่วนของนิ้ว  เราจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์  เราจะถูกเผาเป็นจุล  หรือถ้าเคลื่อนตัวห่างออกไป 1/10 ส่วนของนิ้ว  เราจะโคจรห่างจากดวงอาทิตย์โลกเราจะหนาวตาย

    อีกประการหนึ่งโลกทำมุมเองกับแกนโลก 23.5 องศาพอดิบพอดี  ถ้าโลกเราไม่เอียงแต่ตั้งอยู่ในแนวดิ่งขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์จะทำให้ไม่มีฤดูกาล  บริเวณพื้นที่ป่าก็จะมีความร้อนสูงมากขึ้นและพื้นที่ทะเลทรายจะขยายใหญ่ขึ้น  ถ้าการเอียงทำมุมเกิน 90 องศา  โลกเราจะมีฤดูที่สลับกันระหว่างฤดูหนาวที่หนาวมาก และฤดูร้อนที่ร้อนมาก  ถ้าชั้นบรรยากาศที่หุ้มรอบโลกจะบางมากกว่านี้เศษอุกาบาตนอกโลกจะตกลงมาบนโลกด้วยกำลังแรง  และจะเกิดบ่อยมากขึ้นเป็นเหตุทำให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงทั่วโลก

https://commons.wikimedia.org/wiki/
File:Titan_Earth_Comparison_at_29_km_per_px.png
    ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกของเรา 240,000 ไมล์  ระยะห่างของดวงจันทร์ก่อให้เกิดแรงดึงดูดทำให้มีน้ำขึ้นน้ำลงในมหาสมุทร  ถ้าดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกอีกเพียงแค่หนึ่งในห้า  น้ำจะขึ้นสูงมากอย่างท่วมท้น  ท่วมผิวโลกสูงถึง 35-50 ฟุต  วันละสองครั้ง  ท่านคิดว่าระยะห่างของดวงจันทร์กับโลกอย่างพอดิบพอดีนั้นเป็นไปโดยบังเอิญหรือ?

    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกจะถูกตัดให้ช้าลงครึ่งหนึ่งหรือเร็วขึ้นกว่าเดิม?  ถ้าความเร็วลดให้ช้าลงครึ่งหนึ่ง  ฤดูกาลก็จะยาวออกไปอีกเท่าตัวซึ่งก่อให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงและเกิดความหนาวเย็นอย่างรุนแรงครอบคลุมเป็นบริเวณพื้นผิวของโลกอย่างกว้างขวาง  ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารมาเลี้ยงชาวโลก  หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย  ถ้าอัตราการหมุนรอบตัวเองของโลกเร็วเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว  ฤดูกาลก็จะถูกลดลงครึ่งหนึ่ง  จะก่อให้เกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้พอกับความต้องการเพื่อเลี้ยงชีวิตได้

    ใครบ้างที่จะคิดว่าความพอดิบพอดีซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อชีวิตจะอยู่ได้บนโลกของเราเกิดขึ้นโดย "บังเอิญ"  โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์พอดี  อยู่ห่างจากดวงจันทร์พอดี  มีรัศมีพอดี  มีความกดดันของชั้นบรรยากาศพอดี  เอียงทำมุมพอดี  ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรพอดี  มีน้ำหนักของมวลสารพอดีและความพอดีอื่น ๆ อีกมากมาย  ความพอดีเหล่านี้เกิดขึ้นโดย "อุบัติเหตุ" อย่างนั้นหรือ?  พวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการอยากให้ท่านเชื่ออย่างนั้น  มีคนกล่าวว่าความพอดีที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ  เปรียบเหมือนพายุใต้ฝุ่นพัดเอาเศษเหล็กที่กองเป็นขยะ  โดยบังเอิญใต้ฝุ่นทำให้เศษเหล็กชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากองรวมกันเป็นเครื่องบินอย่างนั้นหรือ?  เป็นไปไม่ได้  หลังจากที่เราได้พิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดเป็นที่แน่ชัดว่า มีผู้มีสติปัญญาเป็นผู้ออกแบบสร้างจักรวาลขึ้นมา  ผู้ออกแบบนั้นก็คือ พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่

ตอบคำถาม คลิกที่นี่  https://docs.google.com/forms/d/1VdNiNxC5h7Y3oOiIA_UnG96aBQ-c0KSMXEk2mVYj6co/viewform